รพ.สมิติเวช เดินหน้าป้องกันคนไทยไม่ป่วย ปักหมุด หยุดไข้เลือดออก…ด้วยวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกชนิดใหม่ #เราไม่อยากให้ใครป่วย

กรุงเทพฯ 19 กันยายน 2566 –รพ.สมิติเวช ชูการดูแลสุขภาพในรูปแบบ “Early Care” ป้องกันและส่งเสริมการดูแลสุขภาพก่อนอาการเจ็บป่วย ชวนประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม “ปักหมุด หยุดไข้เลือดออก…ชวนรู้จักวัคซีนใหม่” ร่วมสร้างความรู้และวิธีป้องกัน พร้อมให้บริการประชาชนที่สนใจเข้ารับวัคซีนไข้เลือดออกชนิดใหม่เพื่อรองรับทุกช่วงของการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

พญ.สุรางคณา เตชะไพฑูรย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม รพ.สมิติเวช และ รพ.บีเอ็นเอช และผู้อำนวยการ รพ.เด็กสมิติเวช กล่าวว่า “ในฐานะผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่อยากเห็นสุขภาพของคนไทยดีขึ้น โดยมีเป้าหมาย #เราไม่อยากให้ใครป่วย โดยโรงพยาบาลสมิติเวช เน้นย้ำจุดยืนการทำ Early Care ไม่ป่วยเพราะรู้ทันก่อนเกิดโรค และการ Prevention ลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ มาโดยตลอด โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่มีมานาน พบในเด็กและผู้ใหญ่เป็นโรคหนึ่งที่ทำให้ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล รวมทั้งในรายที่เป็นรุนแรงจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ จะเห็นว่าหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมมือกันรณรงค์ป้องกัน เพื่อลดการระบาดของโรค เช่นเดียวกับสมิติเวช เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า วัคซีนไข้เลือดออกจะลดผู้ป่วยติดเชื้อไข้เลือดออกในประเทศไทย ทำให้คนไทยมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง และปลอดภัยจากโรคนี้ได้อีกด้วย”

โรคไข้เลือดออกเป็นอีกหนึ่งภัยใกล้ตัว ข้อมูลจากรายงานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา (506) กองระบาดวิทยา ณ วันที่ 6 กันยายน 2566 พบว่า ไข้เลือดออกระบาดสูงสุดในรอบ 5 ปี ผู้ป่วยมากกว่าปี 2565 ถึง 3 เท่า มีผู้ติดเชื้อสะสมแล้วกว่า 90,000 ราย พบผู้ป่วยเสียชีวิตแล้ว 84 ราย รพ.สมิติเวชจึงรณรงค์ป้องกันเพื่อลดการสูญเสียหากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีหรือการมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงสามารถต่อสู้กับโรคนี้ได้

พญ.สมรรจน์ ลิ้มมหาคุณ อายุรแพทย์ด้านโรคติดเชื้อในผู้ใหญ่ รพ.สมิติเวช กล่าวถึงความอันตรายของการติดเชื้อไข้เลือดออกในกลุ่มผู้ใหญ่ว่า “ปัจจุบันการติดเชื้อไข้เลือดออกในผู้ใหญ่มีอัตราสูงมากขึ้น อัตราการแพร่ระบาดที่รุนแรงขึ้น ผู้ที่เคยป่วยเป็นไข้เลือดออกแล้วยังเป็นซ้ำได้อีก และอาจเสี่ยงต่ออาการที่รุนแรงมากขึ้น แม้การป่วยครั้งแรกจะไม่แสดงอาการก็ตาม ไข้เลือดออกคาดเดาความรุนแรงของโรคได้ยาก ไม่มียารักษาเฉพาะเจาะจง ไม่ว่าคนแข็งแรงดี หรือมีโรคประจำตัวก็มีโอกาสเป็นไข้เลือดออกรุนแรงได้ การป้องกันไข้เลือดออกด้วยวัคซีน ถือเป็นแนวทางการป้องกันที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง สามารถฉีดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ที่มีอายุระหว่าง 4-60 ปี มีประสิทธิภาพในการป้องกันไข้เลือดออกจากทุกสายพันธุ์ ได้ 80.2% และป้องกันการนอนโรงพยาบาลได้ 90.4% โดยสามารถฉีดได้ทั้งคนที่เคยและไม่เคยเป็นไข้เลือดออกมาก่อน โดยไม่ต้องตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด วัคซีนมีความปลอดภัย ซึ่งผลข้างเคียงที่พบ เป็นเพียงผลข้างเคียงทั่วไป ได้แก่ อาการปวดตรงตำแหน่งที่ฉีดวัคซีน ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ โดยส่วนมากมักหายได้เอง ภายในเวลา 1-3 วัน”

นพ.ธีรพงษ์ บุญยะลีพรรณ กุมารแพทย์ รพ.เด็กสมิติเวช กล่าวถึงวิธีในการปกป้องสมาชิกในครอบครัวให้ห่างไกลจาก โรคไข้เลือดออก “การติดเชื้อโรคไข้เลือดออกในครอบครัวเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ เนื่องจากโรคไข้เลือดออกที่ทุกคนรู้กันว่าพาหะนำโรคของโรคร้ายนี้คือยุงลาย ดังนั้น หากมีคนในครอบครัวที่ติดเชื้อไวรัสเดงกีหรือไข้เลือดออก คนในครอบครัวก็มีความเสี่ยงที่จะติดได้เช่นกันจากยุงตัวเดิม โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก ผู้ปกครองและครอบครัวจึงควรสังเกตอาการ หากเด็กมีไข้ขึ้นสูงลอย เบื่ออาหาร และมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย ไม่แนะนำให้รับประทานยาเองที่บ้านแต่ให้พามาพบแพทย์”

สำหรับประชาชนที่สนใจรายละเอียดเกี่ยวกับวัคซีนไข้เลือดออกชนิดใหม่

วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก ฉีด 2 เข็ม ราคา 4,400 บาท จากราคาปกติ 6,050 บาท (ไม่รวมค่าแพทย์ แต่รวมค่าบริการ รพ.แล้ว) พิเศษ เมื่อซื้อผ่านช่องทาง Lazada ลดเหลือ 4,200 บาท และ ซื้อผ่าน แอปพลิเคชัน SkinX ลดเหลือ 4,100 บาท วันนี้ – 31 ธันวาคม 2566 เท่านั้น    

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://smtvj.com/3Rj4vXA
แอดไลน์ @samitivej หรือทักแชท https://smtvj.com/48ij5oH หรือโทรสอบถาม Call center โทร. 02-022-2222
รับบริการได้ที่ รพ.สมิติเวช สุขุมวิท, รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์, รพ.สมิติเวช ไชน่าทาวน์, รพ. สมิติเวช ธนบุรี

สำหรับ รพ.สมิติเวช ศรีราชา และ รพ.สมิติเวช ชลบุรี วัคซีนไข้เลือดออก 4 สายพันธุ์ ชนิดใหม่ 2 เข็ม ราคา 5,000 บาท (รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.แล้ว)
รับบริการที่ 
•  รพ.สมิติเวช ศรีราชา ติดต่อช่องทาง Line : @ssh320300 หรือ https://bit.ly/3QWpa3S
•  รพ.สมิติเวช ชลบุรี ติดต่อช่องทาง Line : @dr.samitchon หรือ https://lin.ee/aEJviRL

Share This Post:Share on Facebook0Share on Google+0Tweet about this on TwitterShare on LinkedIn0