ข้อแนะนำและวิธีรับมือฝุ่น PM 2.5
ในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน สิ่งหนึ่งที่เมืองใหญ่ไม่ว่าในประเทศไทยทั้งกรุงเทพฯ เชียงใหม่ และเมืองหลวงอีกหลายประเทศ ประสบปัญหาเดียวกัน นั่นก็คือ ปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (Particulate Matter 2.5 –) ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ในอากาศ หรือ PM2.5 ที่มีระดับพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ตา และผิวหนัง เราจะรับมืออย่างไรในสถานการณ์เช่นนี้ เพื่อป้องกันตัวเองจากอันตรายนี้
PM 2.5 อันตรายแค่ไหน
ฝุ่น PM 2.5 คือฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยมีขนาดเล็กว่า 2.5 ไมครอน หรือขนาดประมาณ 1 ใน 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผม โดยฝุ่น PM 2.5 นั้นเนื่องจากมีขนาดเล็กมากทำให้หลุดรอดการกรองจากจมูกและสามารถผ่านลงไปถึงถุงลมปอดได้เมื่อเราหายใจเช้าไป จะแพร่กระจายเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ถุงลมในปอดและกระแสเลือดโดยตรง เกิดการส่งผล อันตรายต่อกระบวนการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังอักเสบของระบบทางเดินหายใน และระบบไหลเวียนเลือด นอกจากนี้ในฝุ่น PM 2.5 มักพบสารก่อมะเร็ง และโลหะหนักที่เป็นอันตรายเกาะอยู่ด้วย
อาการและผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5
ระยะสั้น : ทำให้ระคายเคืองตา ตาแดง คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ อาการภูมิแพ้และหอบหืดกำเริบ ทำให้ปอดอักเสบติดเชื้อง่ายขึ้น ผิวหนังอักเสบมีผื่นคันที่ผิวหนัง
ระยะยาว : การทำงานของปอดแย่ลง เสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ และ โรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปอด ผิวหนังเหี่ยวย่นก่อนวัย
วิธีรับมือ PM 2.5
ติดตามรายงานสภาพอากาศและระดับ PM 2.5 อย่างสม่ำเสมอ
เฝ้าระวังระดับมลพิษผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆ เช่น AirVisual, Real time AQI, BreezoMeter, Air4Thai
หรือใช้เครื่องวัดสภาพอากาศ ก็จะแม่นยำ ระบุตำแหน่งที่คุณอยู่ได้
ตัวอย่าง https://shope.ee/409YuBovOi
เครื่องวัดสภาพอากาศ https://shope.ee/3Kts4r9FcB หรือ https://shope.ee/99rf1hb0r4
ควรใช้เครื่องฟอกอากาศที่สามารถกรองฝุ่น PM 2.5 ได้เมื่ออยู่ภายในบ้านหรืออาคาร
พยายามอยู่บ้านหรือภายในอาคารที่ปิดมิดชิด อาจใช้เครื่องปรับอากาศภายในบ้านแม้อุณภูมิภายนอกไม่สูง หรือปิดหน้าต่างให้มิดชิดในช่วงที่มีมลพิษสูง
ใช้เครื่องฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพเพื่อช่วยกรองอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็ก ควรเลือกครื่องฟอกอากาศที่มีไส้กรองหรือตัวกรอง ที่มีคุณสมบัติดักจับอนุภาคขนาดเล็กเทียบเท่าสารก่อภูมิแพ้ได้ถึง 99.95% หรือมีคุณสมบัติดักจับอนุภาคสารก่อภูมิแพ้ ไม่ว่าจะเป็นละอองเกสรดอกไม้ ฝุ่น ควัน และเศษผงได้ และระบบ UV-C ช่วยในการฆ่าแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อโรคที่มาพร้อมผงฝุ่น
ตัวอย่างเครื่องฟอกอากาศมีหลายตัว เช่น
หลากหลายขนาดขึ้นกับขนาดของห้อง https://shope.ee/6Uqtns6iAK
แบบดีไซน์ น่ารัก ราคาย่อมเยา https://shope.ee/1q54Ep06GO
ลดเวลาการอยู่นอกบ้าน/อาคาร หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้ง
โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อ PM 2.5 สูง เช่น เด็ก หญิงตั้งครรภ์ คนชรา ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคภูมิแพ้ โรคปอด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตเรื้อรัง ควรงดเดินทางออกจากบ้าน ถ้าไม่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกกำลังกายกลางแจ้งควรหลีกเลี่ยงหรืองดช่วงนี้ เนื่องจากอาจสูดเอาฝุ่น PM 2.5 เข้าสู่ทางเดินหายใจและปอดได้มากกว่าเดิม
สวมหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ หรือ สวมหน้ากาก N95
หากจำเป็นต้องออกจากบ้านหรืออาคาร แนะนำสวมหน้ากากอนามัยที่สามารถกรองอนุภาคฝุ่นละอองพิษได้สูง เช่น หน้ากาก N95 กรองได้อย่างน้อย 95% และหน้ากาก N99 กรองได้มากถึง 99% แต่ถ้าไม่มี ใช้หน้ากากธรรมดาและควรสวมให้ถูกวิธี กระชับพอดีกับศีรษะ ไม่หลวม เนื่องจากฝุ่นละอองมีขนาดเล็กสามารถลอดผ่านหน้ากากได้ง่าย ที่สำคัญควรเปลี่ยนหน้ากากอนามัยใหม่ทุกวัน
งดสูบบุหรี่และกิจกรรมที่ทำให้เกิดควัน
ทุกครั้งที่มีการสูบบุหรี่ หรือสูดกลิ่นควันอาจส่งผลให้ระบบทางเดินหายใจและปอดและเป็นตัวการที่ก่อให้เกิดละอองสารเคมีขนาดเล็ก ๆ ขณะที่ก๊าซชนิดต่าง ๆ ที่ถูกปล่อยออกมาพร้อมกัน เมื่อมีการเผาไหม้ยังจะก่อให้เกิดสารต่าง ๆ อีกกว่า 4,000 ชนิด ซึ่งล้วนแต่เป็นสารพิษที่ทำให้อากาศปนเปื้อน
ตลอดจนการเผา ไม่ว่าจะเป็นเผาใบไม้ เผาเศษขยะตามพงหญ้า เผาไร่นา เผาป่า ในที่โล่ง หรือควันเสียที่ลอยมาจากโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เกิดก๊าซพิษและฝุ่นละอองมากมาย โดยเฉพาะในช่วงที่มลพิษทางอากาศสูงมาก ๆ ต้องหยุดการเผาเด็ดขาด เพราะจะยิ่งซ้ำเติมให้สภาพอากาศเลวร้ายลงไปอีก
สังเกตตัวเอง
สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว หากพบอาการ เช่น หายใจติดขัด วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด หรือไอติดต่อกันรุนแรง ควรรีบพบแพทย์ เพื่อรับการรักษา สำหรับใครที่แพ้หนักและเคยได้รับยาแก้แพ้มาแล้ว ควรพกยาติดตัวเสมอ อีกวิธีคือทานวิตามินเสริม หรือยาแก้แพ้ มีที่นี่ขายทั้งวิตามินและยาแก้แพ้ https://shope.ee/AK3cP1W00I