ปราสาทพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์

Story & Photo by Vacationist Team

ปราสาทหินพนมรุ้ง 22

อุทยานประวัติศาสตร์เขาพนมรุ้ง ต.ตาเป๊ก อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ อยู่ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ ประมาณ 77 กิโลเมตร ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ใช้เป็นเทวสถานต่อเนื่องกันมาหลายสมัย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 18

ปราสาทหินพนมรุ้ง 2

ปราสาทพนมรุ้ง ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้ง เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว คำว่า พนมรุ้ง ซึ่งเป็นนามเรียกขานภูเขาไฟและตัวปราสาทนี้เป็นนามที่มีมานานแล้ว

ปราสาทหินพนมรุ้ง 3

ปราสาทหินพนมรุ้ง 4

ปรากฎครั้งแรกพร้อมกับการสร้างปราสาทหลังแรกๆ บนภูเขาแห่งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงแปล ความหมายของคำว่า พนมรุ้ง ไว้ในวิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต เรื่อง จารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง เมื่อ พ.ศ. 2521 ความว่า พนมรุ้ง หรือ วนํ รุง เป็นภาษาเขมร แปลว่า ภูเขาอันกว้างใหญ่ ซึ่งเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับภูเขาอื่นๆ บริเวณใกล้เคียงอันได้แก่ ภูเขาอังคาร ภูเขาหลุบ ภูเขาคอก ภูเขาไปรบัด พนมรุ้งเป็นภูเขาที่มีขนาดใหญ่ที่สุด สอดคล้องกับพระวินิจฉัยนั้น

ปราสาทหินพนมรุ้ง 7

ทางเดินสะพานนาคราช เมื่อมองจากด้านบนตัวปราสาท

ปราสาทหินพนมรุ้ง 10

ด้วยที่ตั้งซึ่งเป็นภูเขาไฟกับความสวยงามของปราสาท และการแกะสลักด้วยลวดลายที่วิจิตรบรรจง ทำให้ปราสาทพรมรุ้งมีความอลังการโดดเด่นเป็นสง่าดังทิพยพิมานแห่งเทพบนเขาพระสุเมรุตามคัมภีร์ของศาสนาฮินดู

ปราสาทหินพนมรุ้ง 9

ปราสาทพนมรุ้งเป็นปราสาทที่สร้างขึ้นโดยกำหนดให้หันหน้าสู่ทิศตะวันออก อันเป็นทิศที่พระอาทิตย์ขึ้น ถือกันว่าเป็นทิศแห่งความเจริญรุ่งเรืองและแสงอาทิตย์ยามเช้าที่สาดส่องมากระทบกับศิวลึงค์ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ แทนองค์พระศิวะเกิดเป็นรัศมีเหลืองอร่ามดุจดังทอง ถือกันว่าเป็นการเพิ่มพลังให้แก่องค์พระศิวะชั่วกัลปาวสาน จะเกิดปรากฎการณ์พระอาทิตย์ส่องทะลุ 15 ช่องประตู ใน 1 ปีจะเกิดพระอาทิตย์ขึ้น 2 ครั้ง และพระอาทิตย์ตก 2 ครั้ง

ปราสาทหินพนมรุ้ง 18

ปราสาทพนมรุ้งเป็นเทวสถานที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของพระศิวะ เป็นเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดู และเป็นเครื่องส่งเสริม ค้ำจุนสถานภาพของชนชั้นปกครอง พร้อมกับใช้ประโยชน์ในฐานะศาสนสถาน คือ ใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ตามประเพณีของศาสนาฮินดู

ปราสาทหินพนมรุ้ง 19

ปราสาทหินพนมรุ้ง 12

ปรากฏชื่อผู้สร้างปราสาท คือ “นเรนทราทิตย์” เชื้อสายราชวงศ์มหิธรปุระ ผู้เกี่ยวข้องเป็นญาติกับพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างปราสาทนครวัด ปราสาทประธานปราสาทหินเขาพนมรุ้งก่อด้วยหินทรายสีชมพู

ปราสาทหินพนมรุ้ง 21

ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีปราสาทอิฐ 2 องค์ และปรางค์น้อยอยู่ พื้นที่ปราสาทกว้างขวางมาก

ปราสาทหินพนมรุ้ง 20

ปราสาทหินพนมรุ้ง 11

หากจะเดินให้ทั่วต้องใช้เวลาทั้งวันก็ไม่หมด เพราะแต่ละจุดก็มีเรื่องราวและประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ ในช่วงปลายปีอากาศกำลังดี เหมาะแก่การเดินเที่ยวชมมากกว่าช่วงหน้าร้อน

ปราสาทหินพนมรุ้ง 17

ปราสาทหินพนมรุ้ง 16

ประติมากรรมชื่อดังที่ทำให้ปราสาทพนมรุ้งเป็นที่รู้จักตั้งแต่เมื่อหลายสิบปีที่แล้วคือ ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ นั่นเอง ปัจจุบันทับหลังก็ยังเป็นที่นิยม เดินกลับไปกลับมาหลายรอบ ก็ยังประทับใจอยู่เช่นเดิม

ปราสาทหินพนมรุ้ง 23

ความหนาเดิมของทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ นั้นต้องหนาเท่าแผ่นปูนซีเมนต์ที่ก่อขึ้นมาด้านหลังของทับหลังนารายณ์ แต่ตอนที่มีผู้ลักลอบนำไปได้สกัดออกเหลือแต่ด้านหน้า เพื่อความเบาในการลักลอบขน ทางกรมศิลปากรจึงก่อปูนที่มีขนาดเท่าของเดิม

ปราสาทหินพนมรุ้ง 6

ปราสาทหินพนมรุ้ง 5

ปราสาทหินพนมรุ้ง 8

การเดินทางจากนางรอง ใช้ทางหลวงหมายเลข 24 ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ถึงบ้านตะโกจากนั้นมีทางแยกขวามือเป็นถนนลาดยาง ไปจนถึงบ้านตาเป๊กจะพบทางแยกซ้ายมือ ขึ้นสู่เขาพนมรุ้ง ระยะทาง 12 กิโลเมตร

Share This Post:Share on Facebook0Share on Google+0Tweet about this on TwitterShare on LinkedIn0