อันตรายจาก (สัตว์) ท้องทะเล
ช่วงร้อนนี้ แหล่งท่องเที่ยวที่หลายคนต้องมุ่งไปคงหนีไม่พ้นทะเลและชายหาดเห็นท้องทะเลสวยๆ น้ำใสๆ แบบนี้ นอกจากเรื่องของคลื่นลมสภาวะอากาศแล้ว ควรระวังเรื่องสัตว์ทะเลมีพิษด้วย ยกตัวอย่างเช่นแมงกะพรุน, ปะการังไฟ, ดอกไม้ทะเล (บางตัวที่มีพิษ) หรืออื่นๆเพราะหากไปเที่ยวในสถานที่ที่มีแหล่งของสัตว์เหล่านี้ชุกชุมแล้วไปสัมผัสเข้าจนเกิดมีอาการแพ้แล้วล่ะก็ คงเป็นทริปที่ไม่สนุกแน่ วันนี้จึงอยากจะมาแนะนำวิธีป้องกัน หรือรับมือหากคุณไปสัมผัสสัตว์ต่างๆ เหล่านี้เข้า
แมงกะพรุน แทบทุกคนรู้จักกันดี มีรูปร่างคล้ายร่มมีหนวดยาวลงข้างล่างเคลื่อนที่เองไม่ได้ต้องอาศัยกระแสน้ำพัดพาไป บางครั้งมันจะถูกพัดมาเกยฝั่งบ้างหรือลอยไปมาผ่านหน้าเราขณะเราเล่นน้ำ ถุงเข็มพิษของแมงกะพรุนซึ่งอยู่ที่หนวดของมันจะแตกและปล่อยเข็มพิษออกมาหากเราไปสัมผัสจะทำให้รู้สึกปวดแสบ ร้อน บวมแดง หรือเป็นรอยไหม้ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออกจนกระทั่งหมดสติ และบางรายอาจมีไข้หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้
วิธีแก้ไข ใช้น้ำส้มสายชูราดบริเวณแผลโดยเร็ว (ถ้าไม่มีใช้น้ำสะอาดอื่นๆ ได้) ห้ามถู หรือ
สัมผัสบริเวณแผลด้วยมือเปล่า เพราะอาจจะมีเข็มพิษอยู่ ถ้ายังมีหนวดติดอยู่ให้เอาออกด้วย
ความระมัดระวังโดยใช้ที่คีบ หลังจากนั้นควรรีบไปพบแพทย์ นอกจากนี้บางตำรายังแนะนำให้นำผักบุ้งทะเลบดแล้วพอกตรงบริเวณที่สัมผัสแมงกะพรุน จะช่วยให้อาการต่างๆ บรรเทาลงได้ ต้องสังเกตอาการต่ออีกอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพราะพิษของแมงกะพรุนบางชนิดไม่แสดงอาการทันที
เม่นทะเล สัตว์ทะเลตัวกลมๆ ที่มีหนามยาวสีดำตามผิวหนัง พบชุกชุมในแนวปะการังของชายฝั่งทะเลไทย หนามของเม่นทะเลจะเปราะง่ายหรือไปทับหรือโดนเข้าใส่จะหักและฝังเข้าอยู่ในเนื้อเอาออกยากมากบริเวณที่ถูกตำจะมีรอยแดง บวมและปวดและจะค่อยๆ บรรเทาลงในเวลาไม่กี่นาทีถึงชั่วโมงอาการดังกล่าวจะหายไปเอง แต่ถ้าโดนหนามที่มีพิษตำนอกจากมีอาการปวด บวมแดงแล้ว ยังทำให้อวัยวะส่วนที่ถูกหนามพิษนั้นชาไม่มีความรู้สึก ระบบประสาทส่วนนั้นไม่ทำงาน หน้าซีด และการสูบฉีดโลหิตไม่เป็นปกติ
วิธีแก้ไข เมื่อถูกหนามเม่นทะเลตำให้ถอนหนามออก หากถอนไม่ออกให้พยายาททำให้หนามบริเวณนั้นแตกเป็นชิ้นเล็กโดยการบีบผิวหนังไปมาหรือแช่แผลในน้ำร้อนประมาณ 50 องศาเซลเซียส บางครั้งเราจะเห็นว่าหลายคนใช้ของแข็งทุบ บริเวณที่ถูกหนามแทงเท่าที่จะสามารถทนความเจ็บปวดได้ในขณะทุบ เพื่อเป็นการเร่งให้หนามที่หักติดอยู่ในเนื้อนั้นสลายตัวได้เร็วขึ้น แต่ก็มีหนามบางชนิดไม่สามารถย่อยสลายได้เช่นกันต้องใช้วิธีผ่าออกเท่านั้น
ดอกไม้ทะเล มีลักษณะคล้ายดอกไม้บาน ลำตัวอ่อนนุ่ม มีหนวดเรียงรายอยู่รอบปาก ด้านล่างเป็นฐานอย่ตู ิดกับหินหรือพืน้ ผิวที่แข็ง มีสีสันต่างๆ ปะการังไฟมีลักษณะเป็นแผ่นตั้งแขนงหรือก้อน สีน้ำตาลหรือสีเหลืองสูงประมาณ 2 – 3 ฟุต มักพบอยู่กับปะการังอื่นเมื่อสัมผัสทั้ง 2 ชนิดนี้จะเกิดผื่นแดง ถ้าอาการรุนแรงมากจะทำให้บวมแดงหรือปวดแสบปวดร้อน มึนงงคลื่นไส้ อาเจียน พิษของดอกไม้ทะเลและปะการังไม่ค่อยจะรุนแรงขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของแต่ละคน
วิธีแก้ไข ให้ใช้น้ำส้มสายชูล้างแผล พยายามเอาเมือกและชิ้นส่วนของหนวดดอกไม้ทะเลออกให้หมด ถ้ามีอาการทรุดให้รีบนำส่งแพทย์โดยด่วน ส่วนปะการังไฟนั้นให้ล้างแผลด้วยน้ำส้มสายชูหรือล้างด้วยอะลูมิเนียมซัลเฟตอีกครั้งหนึ่ง หากส่วนที่สัมผัสปะการังเป็นมือ ห้ามนำมาเช็ดหน้าหรือโดนบริเวณตาโดยเด็ดขาดเพราะพิษจากปะการังไฟที่ยังเหลืออยู่จะทำให้เกิดการระคายเคืองได้
เที่ยวทะเล เดินเล่นชิลตามชายหาด หากพบเจอสัตว์เหล่านี้เกยตืนอยู่ก็อย่าได้ไปสัมผัสด้วยมือเปล่า เพราะอาจถึงตายได้แล้วก็อาจมีอันตรายได้ หรือหากเล่นน้ำหรือดำน้ำก็ควรสวมชุดที่ปกปิดผิวหนังได้เต็มที่กันไว้ดีกว่า ทริปหน้าร้อนนี้จะได้เป็นทริปที่ปลอดภัยสบายใจและได้ความประทับใจกลับไป