Past & Present Beirut – เบรุต เลบานอน
Story & Photo by Kanjana Hongthong
ชื่อของประเทศเลบานอน (Lebanon) อาจจะยังไม่ใช่จุดหมายปลายทางที่ทำให้นักเดินทางสายแมสสะดุดหูมากนัก แต่ถ้าเป็นนักท่องโลกสายเอ็กซอติกแล้วละก็ แค่ได้ยินชื่อเลบานอนนี่หูตาลุกวาวไปหมด โดยเฉพาะเบรุต (Beirut) คือปลายทางที่ทำให้ฉันตาลุกวาวทุกครั้งที่ได้ยิน
ไม่ใช่เพราะขี้ปากชาวบ้านที่บอกว่าที่นี่คือ Paris in Middle East แต่เป็นเพราะเรื่องราวของเบรุตและเลบานอนต่างหาก อดีต ปัจจุบันเก่าและใหม่ ทุกอย่างชวนให้นักเดินทางสายเอ็กซอติกทุกคนปรารถนาจะไปเยือนที่นี่
นอกจากอิทธิพลของฝรั่งเศสที่ห่มคลุมเบรุตอยู่จนถึงทุกวันนี้ เรื่องราวของสงครามการเมืองช่วงปี ค.ศ. 1975-1991 ยิ่งชวนให้ประเทศนี้น่าสนใจยิ่งขึ้นไปอีกแต่ที่ทำให้นักเดินทางมุ่งหน้ามาที่นี่ เพราะเบรุตติดอันดับเมืองเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
ที่มีอายุมากกว่า 5 พันปีมีการค้นพบจากนักโบราณคดีว่า เคยมีผู้คนตั้งรกรากอยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหิน จนกลายเป็นชุมชนของชาวฟินิเชียน รุ่งเรืองมาเรื่อยจนเจอภัยสึนามิถล่มจนเมืองถูกคลื่นกลืนกิน
จนชาวอาหรับได้เข้ามาก่อร่างสร้างเมืองขึ้นใหม่ แต่หลังจากนั้นก็มีทั้งพวกออตโตมันเข้ามาปกครองหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 เลบานอนจึงตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสมา 20 กว่าปีจึงได้รับอิสรภาพ ทุกวันนี้ฝรั่งเศสจากไป แต่กลิ่นอายและมรดกตกทอดของฝรั่งเศสยังคงอยู่ ทั้งอาคารบ้านเรือน อาหาร วัฒนธรรม และภาษาฝรั่งเศสที่ผู้คนยังใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวันเคียงคู่ไปกับภาษาอารบิก
“ปารีสแห่งตะวันออกกลาง” เป็นสมญานามที่ใครๆ ก็พูดถึงเบรุตหลังจากได้เอกราชคืนจากฝรั่งเศส ยุคนั้นใครๆ ก็แห่แหนไปเที่ยวเบรุต เพราะเบรุตทั้งงดงาม มีความเป็นฝรั่งเศส มีความเจริญรุ่งเรืองในหลายด้าน
แต่จากนั้นไม่นาน เมื่อเบรุตก้าวเข้าสู่ยุคสงครามกลางเมืองเมืองตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 ถึงเป็นช่วงเวลาบอบช้ำที่สุดของเลบานอนก็ว่าได้เป็นช่วง 15-16 ปีที่เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างชาวคริสเตียนและชาวมุสลิม
เบรุตที่เคยงดงามถูกชำแหละออกเป็นเบรุตตะวันออกของชาวคริสต์ และเบรุตตะวันตกของชาวมุสลิม โดยมีเส้นแบ่งกลางที่เรียก ‘Green Line’ แบ่งชาวเบรุตออกเป็น 2 ฝั่ง เบรุตที่ฉันเห็นในวันนี้ จึงเรียกว่าเป็นช่วงที่เพิ่งผ่านยุคสงครามมาได้ไม่นานนัก นั่นอาจจะเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้หลายคนยังไม่มั่นใจที่จะมาเที่ยวที่เลบานอนกัน เก่าและใหม่ถูกคลุกเคล้ากันอย่างจงใจ
อาคารบางแห่งในเบรุตถูกถล่มด้วยกระสุนปืนจนพรุนไปหมด แต่รัฐบาลตั้งใจเก็บไว้ให้คนรุ่นนี้ได้ตระหนักถึงพิษภัยของสงคราม บางส่วนถูกขัดสีฉวีวรรณซ่อมแซมบูรณะขึ้นใหม่ จนโฉบเฉี่ยวน่ามองทุกวันนี้ ชาวเลบานอนอยู่กันอย่างสันติ โดยมีกฎหมายร่วมกันระหว่างชาวคริสต์และมุสลิมคือ
เพื่อความเท่าเทียมกันของ 2 ศาสนา จึงกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมาบริหารประเทศโดยระบุให้เป็นประธานาธิบดีจึงกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมาบริหารประเทศ โดยระบุว่าให้ประธานาธิบดีต้องเป็นชาวคริสต์นิกายมาโรไนท์ ส่วนนายกรัฐมนตรีต้องเป็นชาวมุสลิมนิกายซุนหนี่ ส่วนตำแหน่งประธานรัฐสภาต้องเป็นมุสลิมนิกายชีอะห์
มุมหนึ่งของเบรุตที่ฉันตั้งใจไปเห็นด้วยสองตาของตัวเองคือ Pigeon Rock หินที่อยู่กลางทะเล ที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของกรุงเบรุต ทั้งคลื่นลมและภัยธรรมชาติกัดเซาะจนมีรูปร่างหน้าตาอย่างที่เห็นทุกเย็นนอกจากจะมีนักท่องเที่ยวมารอดูพระอาทิตย์ตกแล้ว
ชาวเบรุตเองก็ออกมาวิ่งออกกำลังกายกันทุกเย็นบนถนนเลียบทะเลสำหรับแขกเหรื่อของเบรุตทุกคน ช่วงเย็นจึงมักมาป้วนเปี้ยนกันแถวพีเจียน ร็อก
แต่ยังมีอีกมุมหนึ่งที่นักท่องเที่ยวก็นิยมไปเดินเล่นในช่วงเย็น คือ ZaytunaBay ที่นี่เป็นท่าเรือสำหรับจอดเรือยอชต์ มีคาเฟ่และร้านอาหารเอาไว้ให้นั่งแฮงเอาต์กันตลอดเช้าสายบ่ายค่ำย่านเซย์ทูนาเบย์อาจจะอวดความหรูหรา
แต่ไม่ไกลกันก็เผยให้เห็นร่องรอยความเสียหายจากช่วงสงคราม ตึกบางตึกยังไม่ได้รับการบูรณะแม้จะผ่านมานานแล้ว แต่บางส่วนก็มีการบูรณะ อาคารที่ถูกบูรณะขึ้นใหม่ส่วนใหญ่จะเป็นโทนน้ำตาล ละม้ายคล้ายอาคารในยุโรป
บริเวณจัตุรัสนิจเมห์ (Nejmeh Square) มีอาคารรัฐสภาและหอนาฬิกาเก่าแก่ตั้งแต่สมัยที่เลบานอนถูกฝรั่งเศสปกครอง รอบๆ หอนาฬิกาจะเป็นร้านคาเฟ่และร้านอาหารตั้งอยู่ ตรงข้ามของรัฐสภาคือโบสถ์เซนต์ จอร์จซึ่งเป็นหนึ่งในอาคารที่เก่าแก่ที่สุดในเบรุต ไม่น่าเชื่อว่าตอนที่มีการลอบวางระเบิดภายในโบสถ์ช่วงปี ค.ศ. 1975 ที่เริ่มมีสงครามกลางเมือง จะนำไปสู่การค้นพบโบสถ์เก่าสมัยจักรวรรดิไบแซนไทน์ที่ถูกฝังอยู่ใต้โบสถ์แห่งนี้อีกที และที่อยู่ไม่ไกลกันคือมัสยิดอัล โอมารี ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 แต่เดิมเคยเป็นโบสถ์ ต่อมาช่วงปลายศตวรรษที่ 13 ถูกเปลี่ยนมาเป็นมัสยิดแทนยังมีอาคารที่เป็นเหมือนทำเนียบรัฐบาลของเลบานอน สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยยุคออตโตมัน และมีซากโรงอาบน้ำโรมันขนาดใหญ่ที่ถูกค้นพบก่อนช่วงสงครามกลางเมือง
ที่จริงถ้าจะสำรวจซากโบราณสถานในเบรุตยังมีอีกมุมหนึ่งที่น่าสนใจคือ Roman Forum of Beirut ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวช่วงปี ค.ศ. 551 ไม่ไกลกันเป็นมัสยิดโมฮัมเหม็ด อัลอมิน มัสยิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเลบานอน
โดยมีต้นแบบจากมัสยิดสีฟ้าที่อิสตันบูลในตุรกีเบรุตยังมีเบรุต ซุค (Beirut Souk) ที่อย่าคิดว่าจะเป็นตลาดใต้ร่มมีกรุ่นกลิ่นของบรรยากาศแบบคลาสสิกให้เราดื่มด่ำ
เพราะ เบรุต ซุค ทุกวันนี้คือชุมทางของแบรนด์ดัง แบรนด์ชั้นนำของโลกแฟชั่นที่เห็นแล้วแทบไม่อยากเชื่อว่า เบรุตมีทุกแบรนด์ที่คนรักแฟชั่นต้องการ
ใครอยากถ่ายภาพกับป้าย I Love Beirut มองหาร้านกาแฟสตาร์บัคส์ ป้ายนี้อยู่ไม่ไกลจากร้านกาแและตรงข้ามกับร้านกาแฟ มีตึกร้างที่ยังมีร่องรอยกระสุนจากช่วงสงครามกลางเมือง เคยมีคนเลบานอนบอกเราวา่ ตึกพวกนี้เป็นแผลเป็นจากสงครามที่เตือนใจถงึ ความผิดพลาดของพวกเขาในอดีต แต่ทุกวันนี้เขาตั้งใจเก็บไว้แบบนี้ และทำเป็นพิพิธภัณฑ์อวดงานศิลปะของคนยุคนี้แต่มาถึงเบรุตทั้งที
ต้องลองไปเดินเล่นบนถนนฮัมรา (Rue Hamra) ถนนสายธุรกิจที่มีทุกสิ่งทุกอย่างที่นักท่องเที่ยวต้องการ โรงแรม ผับ บาร์ คาเฟ่ ร้านแลกเงิน และแหล่งช้อปปิ้งกองรวมกันอยู่ริมสองฝั่งของฮัมราเบรุตอาจจะไม่ใช่เมืองสวยเมื่อแรกเห็น แต่ค่อยๆ ทำความรู้จัก ค่อยๆ ขยับตัวเข้าเบียดเบรุต พูดคุยเรื่องราวในอดีตของเบรุต สนทนากับปัจจุบันของเบรุต ก็จะรู้ว่า นี่คือเมืองน่าเที่ยวใน พ.ศ. นี้
การเดินทางไปเที่ยวเลบานอนด้วยตัวเอง ยังยุ่งยากเรื่องการทำวีซ่า คนไทยต้องส่งเล่มไปทำที่อินเดียแต่เลบานอนจะออกวีซ่าให้ต่อเมื่อไปเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยว 8 คนขึ้นไป ดังนั้นไปกับทัวร์จึงสะดวกกว่า ทั้งเรื่องวีซ่าและแผนการเที่ยว